Browsed by
Author: admin

คิดถึงรถโรงเรียนของเราจังเลย

คิดถึงรถโรงเรียนของเราจังเลย

ชีวิตเด็กต่างจังหวัดในสมัยก่อนเมื่อย้อนกลับไปประมาณสามสิบกว่าปีก่อน  การได้เข้าเรียนดี ๆ นั้นช่างแสนลำบาก ด้วยความที่บ้านอยู่ไกลห่างจากตัวเมืองถึงสามสิบกิโลเมตเราจึงต้องอาศัยรถโรงเรียนเดินทางไป – กลับ บ้านและโรงเรียนทุกวัน  นั่นเป็นความตั้งใจของพ่อแม่ที่อยากให้ลูก ๆ ได้เข้าเรียนในโรงเรียนที่พวกท่านคิดว่าดีที่สุด การเข้าเรียนในเมืองวันแรกของเด็ก 6 ขวบ จึงไม่ง่ายเลยสำหรับเรา ทุกอย่างใหม่หมด ด้วยความที่เราไม่เคยเรียนอนุบาลมาก่อน ไม่เคยมีประสบการณ์การนอนกลางวัน เล่นกับเพื่อน ๆ  เมื่อต้องไปเรียนอายุถึงเกณฑ์ขึ้น ป.1  ก็ต้องเรียนไปซะดื้อ ๆ อย่างนั้น ตอนนั้นเราก็ไม่ได้รู้สึกว่าแปลกอะไร  แต่พอโตขึ้นถึงได้รู้ว่าเราไม่เคยได้เรียนอนุบาล แต่ก็ไม่อยากถามพ่อแม่ว่าทำไมเราไม่ได้เรียนเหมือนเด็กคนอื่น ๆ คิดซะว่าเป็นข้อดีได้เรียนเร็ว และเรียนผ่านมาได้ด้วย ณ วันแรกที่เข้าเรียน มันเป็นความรู้สึกที่หลากหลายอย่างบอกไม่รู้  มีทั้งความสับสนในภาษา ที่เราไม่เคยจะพูดมาก่อน ด้วยความที่เป็นเด็กอิสาน พูดภาษาอิสาน พอต้องมาเจอคุณครูเจอเพื่อน ๆ ในโรงเรียนเอกชนที่พูดภาษากลาง เลยเกิดความสับสน ไม่เข้าใจ ไม่กล้าพูดปะปนอยู่ในคราวเดียวกัน เราจำช่วงเวลานั้นได้ ในตอนนั้นเราได้กลายเป็นพูดน้อย พูดน้อยมากถึงกับผู้ใหญ่บางคนถามพ่อเราว่า ลูกคุณเป็นใบ้เหรอ?  เมื่อเวลาผ่านไป ก็ค่อยปรับตัวค่อยเป็นค่อยไปและสามารถเข้ากับกลุ่มเพื่อน ๆ ที่พูดภาษากลางได้เป็นอย่างดี ! เมื่อเริ่มสนิทสนมกับเพื่อน การเรียน การเล่นจึงไม่มีปัญหาใด ๆ เป็นไปในทางที่ดีด้วยซ้ำ แม้จะพูดน้อยแต่ผลการเรียนของเรานั้นไม่ได้น้อยเลยล่ะ ประสบการณ์ในวัยประถมมีเยอะ  แต่มีสิ่งหนึ่งที่อยากเล่า คือ ความทรหด ที่ฝึกเราสองพี่น้องให้เป็นคนมีความอดทนจนถึงทุกวันนี้ นั่นก็คือ การนั่งรถโรงเรียน  ยังไงถึงบอกว่าทรหด  เราต้องนั่งรถโรงเรียนทั้งไปและกลับทุกวัน วันละไม่ต่ำกว่าชั่วโมงครึ่งถึงสองชั่วโมง  รถโรงเรียนของเราเป็นรถบัสขนาดกลาง มีนักเรียนในสายเดียวกันประมาณสามสิบคน  แน่นอนว่าบ้านเราซึ่งอยู่ห่างไกลจากตัวเมืองถึงสามสิบกิโลเมตรนั้น คือ บ้านที่ไกลที่สุดในสายนี้  เรากับน้องสาวจึงได้สิทธิ์พิเศษคือ รถโรงเรียนจะขับตรงดิ่งจากตัวเมืองไปบ้านของเราสองคนก่อน บางครั้งเราก็ปล่อยให้รถโรงเรียนรอ  (จะบอกว่าบางครั้งก็ไม่ได้เพราะบ่อยครั้งมากที่รถโรงเรียนต้องรอเราสองพี่น้องแต่งตัว บางครั้งเพิ่งอาบน้ำเสร็จรถมาก็จอดรอหน้าบ้านเราแล้ว !…

Read More Read More

ออสเตรีย “เมืองแห่งหุบเขา” ธรรมชาติสวยงามสุด ๆ 

ออสเตรีย “เมืองแห่งหุบเขา” ธรรมชาติสวยงามสุด ๆ 

ภูเขา เนินเขา เรียงรายกันเป็นแนว สวยงาม ช่วงหน้าหนาวเราจะมองเห็นยอดเขาเหล่านี้ขาวโพลนเต็มไปด้วยหิมะ ไม่ว่าหน้าร้อนหรือหน้าหนาว หากเป็นภูเขาสูงจะมีหิมะปกคลุมทั้งปี เพียงช่วงหน้าร้อนหิมะบางตาลงเท่านั้น เนื่องด้วยบริเวณภูเขาสูงที่อยู่ระดับน้ำทะเลมาก จะมีอุณหภูมิต่ำตลอดทั้งปี หิมะไม่ได้ละลายหายไปทั้งหมดในช่วงหน้าร้อน  สำหรับคนไทยอย่างฉันเมื่อได้มาเจอภูเขาสูงเสียดฟ้าเรียงรายกันแบบนี้ อดไม่ได้ที่อยากจะไปเยือนไหน ๆ ก็มาอยู่ตรงนี้ หากไม่ไปเยือนคงมาเสียเที่ยวแน่ ๆ ว่าแล้วขับรถพาขึ้นไปบนเนินเขา ห่างจากบ้านไม่ไกลมากประมาณหกกิโลเมตร ก็มองเห็นป้าย “Werreg” เราขับขึ้นไปตามเขา ไต่ขึ้นไปไต่ขึ้นไป นักเดินป่าเดินเขาจำนวนมาก เดินทางเพื่อจะขึ้นไปบนเขา โดยสวมใส่รองเท้าสำหรับเดินเขาโดยเฉพาะ ข้างหลังมีกระเป๋าเป้ สัมภาระน่าจะเป็นน้ำดื่ม อาหาร และระหว่างทางจะมีม้านั่งยาว วางไว้เป็นจุด  ๆ ตลอดจนถึงยอดเขา  ภูเขาบางลูกเราสามารถขับรถขึ้นไปได้แต่หลายที่ก็ต้องเดินเท้าหรือปั่นจักรยานขึ้นไปเท่านั้น  เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และลดอัตรายจากอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันด้วย  เรายังขับรถไปกันต่อทางจนถึงจุดจอดรถ เราไม่รีรอรีบลงจากรถเดินสำรวจไปรอบ ๆ ผู้คนมากหน้าหลายตา บ้างมากันเป็นคู่ บ้างเดินคนเดียว และบ้างก็มาชมภูเขากันทั้งครอบครัวฉันเดินไปยังจุดที่มองเห็นทะเลสาบ  ทะเลสาบเล็กนิดเดียว ล้อมรอบด้วยภูเขาสูงต่ำ อีกทั้งมีแสงแดดอ่อน ๆ ทำให้บรรยากาศเป็นเขานี้ไม่หนาวมาก  สวยงามมาก  เห็นอย่างนั้นแล้้วเราก็สูดเอาอากาศเข้าไปเต็มปอด รู้สึกสดชื่น บรรยากาศแบบนี้ทำให้นึกถึงครั้งที่ไปเที่ยวเชียงใหม่กับเพื่อนในครั้งนั้นเราเดินขึ้น “กิ่วแม่ปาน” สวยงานแบบนั้นเลย เราเดินไปรอบ ๆ และหยุดนั่งพักบนม้านั่งยาวอย่างดี มีที่พิงที่พักแขน มองดูวิวสวย ๆ ตรงหน้าจนพอใจแล้วค่อยกลับ กิจกรรมเดินขึ้นเขาปั่นจักรยานภูเขา หรือปีนภูเขาสูง  เป็นกิจกรรมโปรดของชาวยุโรปเพราะไม่ใช่แค่ชาวออสเตรียเท่านั้น นักท่องเที่ยวจากประเทศต่าง ๆ ทั่วยุโรปเขาก็นิยมมาเที่ยวออสเตรียเพื่อการปีนเขากันมาก  ออสเตรียขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองแห่งหุบเขา จึงเป็นจุดหมายของนักปีนเขาจากทั่วโลกด้วย สำหรับเราขอเริ่มต้นด้วยการเดินป่าบนพื้นที่ราบก่อน เพื่อเป็นการอุ่นเครื่องร่างกาย ครั้งนี้เราขับรถออกไปไม่ไกลอีกเช่นเคยนั่นหมายความว่า  เนินเขาและป่านั้นอยู่ล้อมรอบเรา หากคุณต้องการเดินป่าออกกำลังกาย คุณสามารถเดินจากบ้านได้เลยสำหรับคนที่อาศัยในหมู่บ้าน  แต่หากอาศัยอยู่ในเมืองเพียงแค่ขับรถออกจากบ้านไม่กี่กิโลเมตรคุณก็ได้เจอกับป่าขนาดใหญ่สำหรับสูดอากาศบริสุทธิ์ เดินออกกำลังกายแม้จะเป็นป่าแต่ มีการทำทางเดินไว้เพื่ออำนวยความสะดวก ดังนั้นจึงไม่ต้องกังวลว่าจะหลงป่า  ป่า…

Read More Read More

ซานโตรินี่ (Santorini) จุดหมายในฝันของนักท่องเที่ยว

ซานโตรินี่ (Santorini) จุดหมายในฝันของนักท่องเที่ยว

กรีกเมืองประวัติศาสตร์โลก ใคร ๆ ก็อยากไปเยือน มีสถานที่ท่องเที่ยวเยอะมากมาย แต่สถานที่ท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อโด่งดังติดอันดับโลกแห่งหนึ่งของกรีกก็คือ เกาะซานโตรินี่ เราพักใน เกาะ Kreta  การไปเที่ยวซานโตรินี่ครั้งนี้ เราใช้บริการทัวร์แบบ วันเดย์ทัวร์ ทัวร์รับเราจากหน้าโรงแรมไปยังท่าเรือ เพื่อเดินทางโดยเรือเฟอร์รี่ไปยัง Santorini เกาะซานโตรินี่ (Santorini)นี้เป็นเกาะที่ดังมากๆ ของประเทศกรีซ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเกาะ Crete ในทะเล Aegean ด้วยความที่มีเอกลักษณ์ ของสถาปัตยกรรม ที่โดดเด่นมาก ถ้าใครเคยเห็นภาพบ้านสีขาวหลังคาโดมสีฟ้าตามโปสการ์ดท่องเที่ยวของกรีซแล้ว นั่นแหละ แทบทั้งหมดจะถ่ายมาจากเกาะนี้ หมู่บ้านที่เป็นท่าเรือ เรียกว่า Thira หรือ Fira จะเป็นเมืองหลวงของเกาะนี้ Thira เป็นเมืองใหญ่ มีร้านรวงเยอะกว่า Oia แต่วิวที่เห็นปล่องภูเขาไฟก็ต่างกันไปคนละมุม โดยเกาะซานโตรินี่ ที่เป็นรูปพระจันทร์เสี้ยว มีหมู่บ้านOia อยู่ตรงปลายด้านบนของวงพระจันทร์ ส่วน Thira จะอยู่ตรงกลาง ภาพแผนที่ซานโตรินี่จาก https://sites.google.com/ ที่น่าดู น่าชม จนทำให้หมู่เกาะแห่งนี้โด่งดังที่สุด ในบรรดาเกาะต่าง ๆ ของกรีซ คือ ส่วนบนของเกาะ ตามขอบหน้าผา จะมีบ้านเรือนสีขาวฟ้าเรียงรายไปตามลาดเอียงของหน้าผาที่สูงชันกว่า 700 ฟุต แต่ที่ชาวบ้านนิยมขึ้นมาปลูกบ้านกันบนหน้าผาสูงนี้ ด้วยเหตุผล 2 อย่าง คือ ด้านความปลอดภัย จากโจรสลัดในสมัยก่อน การอยู่ที่สูงจะทำให้ยากต่อการเข้าถึง และง่ายต่อการป้องกันตัว อีกอย่างหนึ่งคือ บนหน้าผาจะรับลมดีและมีอุณหภูมิเย็นกว่าด้านล่างโดยเฉพาะช่วงหน้าร้อน ชาวบ้านจึงหนีกันขึ้นมาสร้างบ้านกันบนนี้ หมู่บ้าน เอีย (Oia Village) คือ จุดชมวิวที่สวยตะลึง คนนิยมมาเยือนมากที่สุด…

Read More Read More

เก็บสตรอว์เบอร์รี่และกินบุฟเฟ่ต์สตรอว์เบอร์รี่สด ๆ ในไร่

เก็บสตรอว์เบอร์รี่และกินบุฟเฟ่ต์สตรอว์เบอร์รี่สด ๆ ในไร่

เมื่อช่วงปลายฤดูใบไม้ผลิที่ผ่านมา เรากับเพื่อนพร้อมกับลูกสาวของเพื่อนได้ไปเก็บสตรอว์เบอร์รี่ เราขับรถไปไม่นานไม่ถึงสิบห้านาทีก็ถึงไร่แล้ว บรรยากาศในวันนั้นดีมาก ไร่ล้อมรอบด้วยภูเขาตามลักษณะภูมิประเทศของออสเตรีย มีแสงแดดอ่อน ๆ อากาศดีฟ้าโปร่งแบบนี้เราต้องหาเรื่องออกไปข้างนอก ไปสูดอากาศบริสุทธิ์กัน ก่อนเข้าไปในไร่ เราจะต้องผ่านด่านการชั่งน้ำหนักอุปกรณ์ที่เรานำมาเก็บสตรอว์เบอร์รี่กันก่อน เช่น ตะกร้า ถัง หรือกล่องชนิดต่าง ๆ ที่ลูกค้านำมาเก็บ เพื่อที่ว่าขาออกจากไร่ เจ้าของไร่จะได้คิดเฉพาะน้ำหนักจากสตรอว์เบอร์รี่เท่านั้น โดยตัดน้ำหนักของอุปกรณ์บรรจุสตรอว์เบอร์รี่ออกไป เมื่อผ่านด่านนี้แล้ว เราก็ลุยไปข้างในไร่กันเลย ส่วนใหญ่แล้วคนทีมาเก็บสตรอว์เบอร์รี่ในวันนั้นมาเป็นครอบครัว พ่อ แม่ ลูก ปู่ ย่า ตา ยาย เรียกได้ว่าสตรอว์เบอร์รี่เป็นที่ชื่นชอบของทุกเพศทุกวัยเลยทีเดียว โดยเฉพาะเด็ก ๆ ดูพวกเขาตื่นเต้นมากที่จะได้เก็บสตรอวเบอร์รี่จากต้นสด ๆ สตรอว์เบอร์รี่ เป็นผลไม้ที่มีสีสันและรูปทรงสวยงามจนได้ชื่อว่าเป็น เทพีแห่งผลไม้ และยังเป็นผลไม้ที่มีความแปลก เพราะแทนที่เมล็ดจะอยู่ข้างใน แต่ดันไปแปะอยู่ที่เปลือกข้างนอกซะงั้น สำหรับรสชาติของสตรอเบอรี่นั้นจะมีทั้งหวาน และเปรี้ยวผสมหวาน นำไปใช้ปรุงและประกอบอาหารได้หลายๆ อย่าง หรือจะกินได้ทั้งผลสดๆ และนำมาแปรรูปเพื่อถนอมอาหารประเภท แยม ที่ใช้กินกับขนมปังก็อร่อย ในบรรดาผลไม้นานาชนิด ผลไม้ที่ดึงดูดใจผู้คนทุกเพศทุกวัยตั้งแต่เด็กเล็ก หนุ่มสาว ตลอดจนผู้ใหญ่ ต้องยกให้ สตรอว์เบอร์รี่ ผลไม้สีแดงสดใส รสชาติหวานอมเปรี้ยวนี้นี่เอง! ประวัติสตรอว์เบอร์รี่ สตรอว์เบอร์รี่ ถูกพบเมื่อราวศตวรรษที่ 10-15 โดยเริ่มที่ประเทศฝรั่งเศส พบภาพวาดเป็นภาพประสูติของพระเยซู มีภาพของพระบิดาโจเซฟ ยืนถือสตรอว์เบอร์รี่ และอีกภาพเป็นภาพพระนางแมรี่ อุ้มพระเยซู และมีนางฟ้าถือถาดสตรอว์เบอร์รี่เช่นกัน ซึ่งจะเห็นว่าภาพเขียนศิลปะยุโรปสมัยกลางนั้น มีสตรอว์เบอร์รี่เป็นส่วนประกอบของภาพเกือบทุกภาพ ในช่วง ค.ศ. 1500-1600 มีการปลูกสตรอว์เบอร์รี่กันอย่างกว้างขวางเนื่องจากมีลักษณะสวยงาม และสามารถนำผลมากินได้ มีการพัฒนาพันธุ์สตรอว์เบอร์รี่ให้มีคุณภาพเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนมาถึงศตวรรษที่ 17 มีการนำสตรอว์เบอร์รี่พันธุ์ เอฟ…

Read More Read More

spinach

spinach

เราไปทำความรู้จักกับผักใบเขียวที่มีคุณประโยชน์มากมาย หาซื้อง่าย ทำอาหารได้หลากหลายเมนูด้วย  นั่นคือ ผักปวยเล้ง ปวยเล้ง ภาษาอังกฤษ คือ Spinach  หรือที่ใครหลายๆ คนอาจจะเข้าใจว่าเป็นผักโขม (Amaranth) เป็นอีกหนึ่งผักดีมีประโยชน์ที่ชาวไทย รวมถึงชาวต่างชาตินิยมรับประทานกันมาอย่างยาวนาน (ผักตัวจริงที่ให้พลังงานแก่ป็อปอาย คือผักปวยเล้งนี่แหละ หาใช่ผักโขมไม่) เพราะปวยเล้งมีวิตามิน และเกลือแร่ที่จำเป็นต่อร่างกายเยอะ หาทานได้ง่าย ราคาไม่แพง และรสชาติดี จึงทำให้ปวยเล้งถูกดัดแปลงไปทำเป็นเมนูอาหารได้อย่างหลากหลายทั้งอาหารตะวันตก และตะวันออก คุณสมบัติของผักปวยเล้งนั้น มีฤทธิ์เย็น มีรสหวาน มีสารอาหารเยอะมาก มีเส้นใยชนิดดี มีพลังงานต่ำ ดังนี้  สารอาหารกลุ่มแคโรทีนอยด์เข้มข้น สารเบต้าแคโรทีน สารลูทีน สารโพแทสเซียม วิตามินซีมีมากเป็น 2 เท่าของหัวผักกาด เป็นวิตามินซีที่ร่างกายดูดซึมได้ดี มีธาตุเหล็กและแคลเซียมจำนวนมาก ซึ่งร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ได้ถึง 50% วิตามินบี วิตามินซี วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค กรดโฟลิกที่มีอยู่มากในผักปวยเล้งนั้น มีด้านดี เกี่ยวกับระบบประสาท คือ เป็นสารประกอบจำเป็นในการสร้างสารซีโรโทนินในระบบเซลล์ประสาท สารตัวนี้ช่วยทำให้ร่างกายผ่อนคลาย นอนหลับง่าย ในด้านของการบำรุงร่างกาย ปวยเล้งมีสารตัวหนึ่งที่ดีมากๆ สารตัวนี้มีชื่อว่า “ลูทีน” ทำหน้าที่ในการกรองแสงสีฟ้าจากแหล่งกำเนิดแสงที่เป็นอันตรายต่อดวงตา ไม่ว่าจะเป็น แสงอาทิตย์อันเจิดจ้า แสงจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือแสงจากหลอดไฟ ทั้งนี้ก็เพราะลูทีนทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ทำให้สามารถป้องกันการถูกทำลายของเซลล์รับภาพหรือจอประสาทตาได้นั่นเอง คนไหนที่ชอบรับประทานปวยเล้งเป็นประจำรับรองว่าจะมีสายตาที่ดีไปกว่าใครแน่นอน ส่วนในด้านของการป้องกันโรค ปวยเล้งจะมีสารที่ชื่อว่า “แคโรทีนอยด์” ในปริมาณสูง ซึ่งสารตัวนี้สามารถช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ดีระดับหนึ่ง พูดถึงแต่เรื่องดีกันไปแล้ว มาทราบถึงข้อเสียกันบ้างดีกว่า เพราะไม่ใช่ว่าการรับประทานปวยเล้งในปริมาณมากจะเป็นเรื่องดีเสมอไป เพราะถึงแม้ว่าปวยเล้งจะมีธาตุเหล็กและแคลเซียมในปริมาณที่สูง แต่ก็ยังพบว่ามีปริมาณ “กรดออกซาลิก” สูงเช่นกัน ซึ่งกรดออกซาลิกที่เป็นองค์ประกอบในปวยเล้งจะเป็นตัวขัดขวางการดูดซึมของธาตุเหล็กและโฟเลต ทำให้ร่างกายได้รับสารทั้งสองอย่างได้ไม่เต็มที่…

Read More Read More